Pregnancy Category
Pregnancy Category A หมายถึง ยาที่ไม่พบว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์เลย จากการศึกษาทดลองแบบควบคุมในมนุษย์ เช่น วิตามินชนิดต่าง ๆ
Pregnancy Category B หมายถึง ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์ หรือยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลองแต่ยังไม่พบว่ามีผลเสียต่อ ทารก ในมนุษย์จากการศึกษาแบบควบคุม เช่น ยาปฎิชีวนะในกลุ่ม Penicillins
Pregnancy Category C หมายถึง ยาที่ยังไม่มีผลการศึกษาที่เพียงพอ ทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์หรือ ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์ เช่น Amitriptyline, Norfloxacin
Pregnancy Category D หมายถึง ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์
แต่ผลดีจากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงนั้น เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อความปลอดภัยของมารดาเช่น Lithium Carbonate, Phenytoin, Phenobarbital, Nortryptyline
Pregnancy Category X หมายถึง ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในทารก และความเสี่ยงนั้นมีมากกว่าผลดีจากการใช้ยา จึงเป็นกลุ่มยาที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาดขณะตั้งครรภ์
Pregnancy Category B หมายถึง ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์ หรือยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลองแต่ยังไม่พบว่ามีผลเสียต่อ ทารก ในมนุษย์จากการศึกษาแบบควบคุม เช่น ยาปฎิชีวนะในกลุ่ม Penicillins
Pregnancy Category C หมายถึง ยาที่ยังไม่มีผลการศึกษาที่เพียงพอ ทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์หรือ ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์ เช่น Amitriptyline, Norfloxacin
Pregnancy Category D หมายถึง ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์
แต่ผลดีจากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงนั้น เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อความปลอดภัยของมารดาเช่น Lithium Carbonate, Phenytoin, Phenobarbital, Nortryptyline
Pregnancy Category X หมายถึง ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในทารก และความเสี่ยงนั้นมีมากกว่าผลดีจากการใช้ยา จึงเป็นกลุ่มยาที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาดขณะตั้งครรภ์
ยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
Pregnancy Category X : ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
- Simvastatin
- Cafergot
- Primolute-N
- Contraceptive
- Premarin
- DMPA
- Methotrexate
- Warfarin
Pregnancy Category D
- Amikacin
- Amitryptyline
- Aspirin (เมื่อใช้ยาในชนาดสูงในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3)
- Atenolol
- Carbamazepine
- Celecoxib (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
- Clorazepate
- Cotrimoxazole (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
- Diazepam
- Diclofenac (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
- Doxycycline
- Enalapril
- Furosemide
- Gentamicin
- HCTZ
- Ibuprofen (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
- Indomethacin (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
- Methimazole
- Piroxicam (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
- Phenobarbital
- Phenytoin
- Propranolol (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 2)
- Propylthiouracil
- Spironolactone (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 2)
- Tetracycline
- Valproic acid
คัดลอกจาก http://sites.google.com/site/rxbanglamung
ยาที่ทำให้ทารกในครรภ์พิการ
ชื่อ ยา | ผล เสียต่อเด็ก |
1.1 แอลกอฮอล์ หรือแม่ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง | ทำให้เกิดการ แท้งได้มากและเด็กมีโอกาสตายระหว่าง คลอดเพิ่มขึ้น เด็กในครรภ์จะมีความพิการของศีรษะ หน้า แขนขาและหัวใจ การเจริญเติบโตในครรภ์ช้าผิด ปกติ อาจเป็นเด็กปัญญาอ่อน และเมื่อคลอดออกมา เด็กอาจมีอาการขาดเหล้า |
1.2 ยากันชักพวก ฮัยแดนโตอิน (hydantoin) เช่น ไดแลนติน (Dilantin) และพีนัยโตอิน (Phenytoin) | จะทำให้การเจริญเติบโต ของทั้งร่างกายและจิตใจช้า กว่าปกติ มีความผิดปกติของศีรษะและหน้า รวมทั้ง แขน ขา โดยเฉพาะเล็บและปลายนิ้วฝ่อ ซึ่ง 30% ของแม่ที่กินยาเหล่านี้จะมีลูกที่มีอาการดังกล่าว |
1.3 ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เช่น ไดเอธิลสติลเบสตรอล (Diethylstillbestrol) | แม่ที่ได้รับยานี้เพื่อ ป้องกันการแท้งในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ลูกที่เป็นผู้หญิงเมื่อโตจนอายุ 13-24 ปี จะเกิดเนื้องอก และมะเร็งปากมดลูกและช่องคลอด เพิ่มมากขึ้น |
1.4 ปรอท (อาจเกิดจากการสะสมของ สารปรอทที่มีในอาหาร) | ทำให้เกิดการแท้ง ลูกตายในท้องหรือตายหลังคลอด เพิ่มมากขึ้น หรือลูกเกิดมามีความพิการทางสมอง หรือโรคทางสมองอื่นๆ |
ยาที่อาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ
ชื่อ ยา | ผล เสียต่อเด็ก |
2.1 แอนตี้ฮีสตามิน หรือ ยาแก้แพ้ กลุ่มบีเปอราซีน (Piperazine) และ กลุ่มซัยคลิซีน (Cyclizine) | ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ในหนู ในคนยังไม่มี รายงาน แต่ก็ไม่ควรใช้ยากลุ่มดังกล่าวในหญิงมีครรภ์ |
2.2 สาร NICOTINE ในบุหรี่ | แม่ที่สูบบุหรี่มาก NICOTINE สามารถซึมผ่านรกเข้า สู่กระแสโลหิตของเด็ก จะทำให้แท้ง และคลอดก่อน กำหนด ลูกที่ออกมาตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หัวใจเต้น เร็วกว่าเด็กปกติ บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการที่ รุนแรงได้ |
2.3 วัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิต แต่ อ่อนแรง (Lived Virus Vaccine) เช่น วัคซีนป้องกันฝีดาษ คางทูม หัด และ หัดเยอรมัน | แม้จะพบว่ามีอันตรายต่อเด็ก น้อย แต่ถ้าหญิงแต่งงาน ที่ยังไม่ตั้งครรภ์ จะต้องคุมกำเนิด 3 เดือน หลังจาก ได้รับวัคซีนเหล่านี้ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัด- เยอรมัน และวัคซีนบางอย่างอาจทำให้มีโอกาสแท้ง สูงขึ้น หรืออาจทำให้เด็กเกิดอาการ Congenital Rubella Syndrome คือ มีลิ้นหัวใจรั่ว ตาบอด หูหนวก |
2.4 แอมเฟตามีน (Amphetamine) | ทำให้เด็กในครรภ์มีโอกาส พิการตั้งแต่กำเนิด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทางเดินน้ำดี |
2.5 ยารักษาโรคเบาหวาน เช่น อินซูลิน หรือพวกซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) | ถ้าแม่ใช้ในจำนวนที่มากเกิน ไป จนเกิดอาการช็อค หรือน้ำตาลในเลือดต่ำมาก จะทำให้เกิดพิการแต่ กำเนิดได้ |
2.6 ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เช่น เฟนินไดโอน (Phenindione), อินดานิดิโอน (Indanidione) และคูมาริน (Coumarin) | ใน ระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยา พวกนี้ เพราะอาจทำให้เกิดความพิการ เช่น การเจริญ ของจมูกน้อยลง แต่ยังไม่มีข้อยืนยันแน่นอน นอกจากนี้ยาบางกลุ่มอาจไปทำให้เด็กในครรภ์หรือ เด็กแรกคลอดมีเลือดออกในระหว่างการคลอด |
2.7 สเตียรอยด์ (Steroid) เช่น เพร็ดนิ- โซโลน, เดกซาเมทาโซน, กลูโคติคอย์ | ทำให้โอกาสแท้งเพิ่มมากขึ้น หรือเด็กในครรภ์มี ความพิการแต่กำเนิด เช่น เพดานโหว่ |
2.8 ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) เช่น ลาซิกซ์ (Lasix) ยาขับปัสสาวะลิเธี่ยม- คาร์โบเนท (lithiumcarbonate) | ใน สัตว์ทดลองทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด โดย เฉพาะเส้นเลือดและหัวใจ ยาพวกนี้ห้ามใช้ในคนตั้ง ครรภ์ 3 เดือนแรก |
2.9 วิตามิน เอ และ บี | ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเกิดความ พิการของไตและ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ, ระบบประสาทแต่กำเนิด ไม่ควรให้มากกว่าจำนวนที่แพทย์สั่ง |
2.10 วิตามิน ซี | ถ้าให้มากเกินไป จะทำให้เด็กในครรภ์คลอดออกมา แล้วเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เรียกว่าโรค ลักปิดลักเปิด ในบางรายอาจทำให้เด็กในครรภ์ มีโอกาสพิการตั้งแต่เกิด |
2.11 วิตามิน ดี | ถ้าแม่ได้รับมากเกินไป จะทำให้เกิดความผิดปกติใน ระบบหลอดเลือดของทารก และอาจทำให้เด็กปัญญา อ่อนได้ |
2.12 วิตามิน เค โดยเฉพาะวิตามิน เค3 เช่น มานาดีน (Manadine) | ถ้าให้ก่อนคลอดจะเกิดเลือด ออกในเด็กแรกคลอด ทำให้เกิดอาการซีดและเหลืองมาก และทำให้หน้าที่ ของตับผิดปกติ |
2.13 ยาคุมกำเนิดชนิดกิน | อาจพบความพิการของหลอดเลือด ใหญ่ และแขนขา กุดในทารกได้มากกว่าปกติเล็กน้อย |
2.14 คาเฟอีน (Caffeine) ในกาแฟ, น้ำชา, โคล่า, น้ำอัดลม | ยังไม่มีข้อกำหนดบ่งชัด แต่มีข้อแนะนำว่าหญิงมี ครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือยาที่ผสมคาเฟอีนใน มารดาที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ, คลอดก่อนกำหนดได้ |
ยาที่มีพิษต่อเด็กในครรภ์
ชื่อ ยา | ผล เสียต่อเด็ก |
3.1 แอสไพริน (Aspirin) และ ซาลิซัยเลท (Salicylate) | ถ้าแม่กินยานี้เมื่อใกล้ คลอด อาจไปยับยั้งการทำงาน เลือดแข็งตัวช้าลง ถ้าแม่กินยานี้หรือยาที่มีสาร ประกอบเป็นตัวยานี้อยู่ตั้งแต่ระยะ 3 เดือนแรก จะทำ ให้คลอดเกินกำหนดเพิ่มอัตราการตายในท้อง และ อาจมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดได้หลายอย่าง |
3.2 พาราเซตามอล (Paracetamol) | ถ้าแม่กินยานี้ขนาดสูงในระยะใกล้คลอด จะมีพิษต่อ ตับของเด็กในครรภ์ |
3.3 คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) | ไม่พบว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ถ้าให้ยานี้ แก่แม่ขณะคลอด อาจทำให้เด็กในครรภ์เกิดอาการ ขาดออกซิเจน ตัวเขียว ๆ เทา ๆ อ่อนปวกเปียก เรียกอาการนี้ว่า เกรย์ ซินโครม และจะทำให้เด็ก เป็นโรคโลหิตจางได้ |
3.4 เตตร้าซัยคลิน (Tetracycline) | ถ้าใช้ในหญิงมีครรภ์ที่อยู่ ในระหว่าง 6-8 เดือนหลัง การตั้งครรภ์ ยานี้จะไปจับกับแคลเซี่ยมที่กระดูกและ ฟันของเด็กในครรภ์ ทำให้ฟันของเด็กมีสีเหลืองสีน้ำ ตาลไปตลอดชีวิต และยังทำให้การเจริญของกระดูก และสมองของเด็กเหล่านี้ผิดปกติไปด้วย |
3.5 อะมิโนกลัยโคโซด์ (Aminoglycoside) เช่น สเตร็ปโตมัยซิน กานามัยซิน และ เจนตามัยซิน ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) | ทำให้ประสาทเกี่ยวกับการได้ ยินเสียไปบางส่วน หรืออาจรุนแรงถึงขนาดทำให้เด็กแรกเกิดหูหนวกได้ ถ้าหญิงมีครรภ์ได้รับในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิด มีโอกาสที่จะมีอาการตัวเหลือง เพราะปริมาณบิลิรูบิน ในเลือดสูง และซึมผ่านเข้าไปในสมองบางส่วนทำให้ สมองเสื่อม ชัก ภาษาอังกฤษเรียกว่าเกิดภาวะ "Kernicterus" |
3.6 ฟิโนบาร์บิตอล (Phenobarbital), บาร์บิตูเรท (Barbiturate) | ถ้าแม่กินยานี้ในขนาดสูงใน ระยะใกล้คลอดมักทำให้ เด็กในครรภ์หายใจไม่สะดวก เนื่องจากยานี้มีผลไป กดศูนย์การหายใจ และยามีผลต่อการแข็งตัวของ เลือด อาจทำให้มีเลือดออกในเด็กแรกเกิด |
3.7 ไดอะซีแพม (Diazepam) | ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิดจะมีกล้ามเนื้อ อ่อนแรง ตัวเย็น และอาจแสดงอาการขาดยาหลัง คลอด |
3.8 เมโปรบาเมท (Meprobamate) ยาเสพติด ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟีน | การเจริญเติบโตของเด็กช้าลง ถ้าให้ในระยะใกล้ คลอดจะกดการหายใจของเด็กแรกเกิด แม่ที่ติดยา -เสพติดจะมีโอกาสแท้งง่าย หรือลูกออกมาตัวเล็กและ อาจมีอาการขาดยา คือ กระวนกระวาย อาเจียน มือเท้าสั่น ร้องเสียงแหลม ชัก |
3.9 ยารักษาเบาหวานชนิด คลอร์โปรปาไมด์ (Chlorpropamide) | ทำให้เด็กแรกเกิดมีน้ำตาลในเลือดต่ำ |
3.10 ไอโอดีน (Radioactive I131) | ถ้าให้ไอโอดีนกัมมันตภาพ I131 ในหญิงมีครรภ์เกิน 14 อาทิตย์ จะทำให้สารนี้ไปสะสมอยู่ในต่อม ธัยรอยด์ของลูกได้ ทำให้เกิดภาวะขาดสารธัยรอยด์ |
3.11 วิตามินซี | ถ้าให้สตรีมีครรภ์มีมากเกินไปจะทำให้เด็กที่คลอด ออกมาเกิดเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน |
3.12 ไอโอไดด์ (Iodides) ซึ่งมักผสมอยู่ ในพวกยาแก้ไอ ขับเสมหะ | ถ้าให้หลังตั้งครรภ์ 14 อาทิตย์ อาจเกิดคอพอก มีการเจริญเติบโตของสมองช้า และบางครั้งคอพอก อาจใหญ่มากจนกดหลอดลมหรือหลอดอาหาร |
3.13 ยาชาเฉพาะที่ (Local anesthetics) | ถ้าใช้ยาพวกนี้มากเกินไป พบว่า 25% ของเด็กแรก คลอด จะมีหัวใจเต้นช้าลง และอาจมีผลทำให้เด็กใน ครรภ์เกิดหัวใจเต้นช้า หรือเด็กแรกคลอดหยุดหายใจ หรือชัก |
3.14 แอมโมเนียม คลอไรด์ | ถ้าแม่ใช้ในปริมาณมากและในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิดภาวะในร่างกายจะเป็นกรด |
3.15 คลอโรควีน (Chloroquin) | ทำให้แท้งบ่อยขึ้น จะมีผลต่อสมองและประสาทหู ของเด็กในครรภ์ |
3.16 ควินิน (Quinine) | เกิดแท้งได้ มีพิษต่อหู และหูอาจหนวกในเด็กแรกคลอด |
3.17 ยาขับปัสสาวะพวกไธอาไซด์ (Thiazide diuretic) | ปริมาณของพลาสมา และเลือดที่ไปยังรก อาจทำให้ เด็กแรกเกิดมีเกล็ดเลือดน้อยลง |
3.18 รีเซอร์ปีน (Reserpine) | ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด จะทำให้เด็กแรกเกิดมีอาการ คัดจมูก ตัวเย็น หัวใจเต้นช้า ตัวอ่อนปวกเปียก |
3.19 ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น นาโปรเซน | จะทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด เหมือนแอสไพริน จึงไม่ควรให้ในหญิงมีครรภ์ |
3.20 บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) | ถ้าแม่กินยานี้ในระยะ 3 เดือนแรก อาจทำให้เด็กใน ครรภ์พิการ |
3.21 อะมิโนฟิลลีน (Aminophylline) และ ทีโอฟิลลีน (Theophylline) | อาจทำให้เด็กแรกเกิดมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ร้องกวน ตัวสั่น และอาเจียน อาการมักปรากฏในช่วง 6-48 ชั่วโมง ภายหลังคลอด |
3.22 ยาลดกรด (Antacids) | ถ้าแม่กินยานี้ขนาดสูง ๆ ติดต่อกันเป็นประจำ อาจทำ ให้เด็กแรกเกิดมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมใน เลือดสูงจนเกิดอาการชักกระตุกได้ |
3.23 ยานอนหลับและยาระงับประสาท | จะกดการหายใจของทารกทำให้หายใจไม่สะดวก ถ้าสตรีมีครรภ์ได้รับยาเหล่านี้ในระยะใกล้คลอดใน ขนาดสูง ๆ |
No comments:
Post a Comment