Monday 15 October 2012

ยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์

Pregnancy Category

Pregnancy Category A หมายถึง ยาที่ไม่พบว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์เลย จากการศึกษาทดลองแบบควบคุมในมนุษย์ เช่น วิตามินชนิดต่าง ๆ
Pregnancy Category B หมายถึง ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์ หรือยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลองแต่ยังไม่พบว่ามีผลเสียต่อ ทารก ในมนุษย์จากการศึกษาแบบควบคุม เช่น ยาปฎิชีวนะในกลุ่ม Penicillins
Pregnancy Category C หมายถึง ยาที่ยังไม่มีผลการศึกษาที่เพียงพอ ทั้งในสัตว์ทดลองและมนุษย์หรือ ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์ เช่น Amitriptyline, Norfloxacin
Pregnancy Category D หมายถึง ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์
แต่ผลดีจากการใช้ยามีมากกว่าความเสี่ยงนั้น เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อความปลอดภัยของมารดาเช่น Lithium Carbonate, Phenytoin, Phenobarbital, Nortryptyline
Pregnancy Category X หมายถึง ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในทารก และความเสี่ยงนั้นมีมากกว่าผลดีจากการใช้ยา จึงเป็นกลุ่มยาที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาดขณะตั้งครรภ์

ยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์

Pregnancy Category X : ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
  • Simvastatin
  • Cafergot
  • Primolute-N
  • Contraceptive
  • Premarin
  • DMPA
  • Methotrexate
  • Warfarin

Pregnancy Category D
  • Amikacin
  • Amitryptyline
  • Aspirin (เมื่อใช้ยาในชนาดสูงในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3)
  • Atenolol
  • Carbamazepine
  • Celecoxib (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
  • Clorazepate
  • Cotrimoxazole (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
  • Diazepam
  • Diclofenac (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
  • Doxycycline
  • Enalapril
  • Furosemide
  • Gentamicin
  • HCTZ
  • Ibuprofen (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
  • Indomethacin (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
  • Methimazole
  • Piroxicam (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 3 หรือใกล้คลอด)
  • Phenobarbital
  • Phenytoin
  • Propranolol (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 2)
  • Propylthiouracil
  • Spironolactone (เมื่อใช้ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 2)
  • Tetracycline
  • Valproic acid
ที่มา ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
คัดลอกจาก http://sites.google.com/site/rxbanglamung





ยาที่ทำให้ทารกในครรภ์พิการ

ชื่อ ยา ผล เสียต่อเด็ก
1.1 แอลกอฮอล์ หรือแม่ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำให้เกิดการ แท้งได้มากและเด็กมีโอกาสตายระหว่าง
คลอดเพิ่มขึ้น เด็กในครรภ์จะมีความพิการของศีรษะ
หน้า แขนขาและหัวใจ การเจริญเติบโตในครรภ์ช้าผิด
ปกติ อาจเป็นเด็กปัญญาอ่อน และเมื่อคลอดออกมา
เด็กอาจมีอาการขาดเหล้า
1.2 ยากันชักพวก ฮัยแดนโตอิน (hydantoin)
เช่น ไดแลนติน (Dilantin)
และพีนัยโตอิน (Phenytoin)

จะทำให้การเจริญเติบโต ของทั้งร่างกายและจิตใจช้า
กว่าปกติ มีความผิดปกติของศีรษะและหน้า รวมทั้ง
แขน ขา โดยเฉพาะเล็บและปลายนิ้วฝ่อ ซึ่ง 30%
ของแม่ที่กินยาเหล่านี้จะมีลูกที่มีอาการดังกล่าว
1.3 ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)
เช่น ไดเอธิลสติลเบสตรอล
(Diethylstillbestrol)
แม่ที่ได้รับยานี้เพื่อ ป้องกันการแท้งในระยะตั้งครรภ์
3 เดือนแรก ลูกที่เป็นผู้หญิงเมื่อโตจนอายุ 13-24 ปี
จะเกิดเนื้องอก และมะเร็งปากมดลูกและช่องคลอด
เพิ่มมากขึ้น
1.4 ปรอท (อาจเกิดจากการสะสมของ
สารปรอทที่มีในอาหาร)
ทำให้เกิดการแท้ง ลูกตายในท้องหรือตายหลังคลอด
เพิ่มมากขึ้น หรือลูกเกิดมามีความพิการทางสมอง
หรือโรคทางสมองอื่นๆ

ยาที่อาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ

ชื่อ ยา ผล เสียต่อเด็ก
2.1 แอนตี้ฮีสตามิน หรือ ยาแก้แพ้
กลุ่มบีเปอราซีน (Piperazine) และ
กลุ่มซัยคลิซีน (Cyclizine)
ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ในหนู ในคนยังไม่มี
รายงาน แต่ก็ไม่ควรใช้ยากลุ่มดังกล่าวในหญิงมีครรภ์
2.2 สาร NICOTINE ในบุหรี่ แม่ที่สูบบุหรี่มาก NICOTINE สามารถซึมผ่านรกเข้า
สู่กระแสโลหิตของเด็ก จะทำให้แท้ง และคลอดก่อน
กำหนด ลูกที่ออกมาตัวเล็ก น้ำหนักน้อย หัวใจเต้น
เร็วกว่าเด็กปกติ บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการที่
รุนแรงได้
2.3 วัคซีนที่ทำจากเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิต แต่
อ่อนแรง (Lived Virus Vaccine) เช่น
วัคซีนป้องกันฝีดาษ คางทูม หัด และ
หัดเยอรมัน
แม้จะพบว่ามีอันตรายต่อเด็ก น้อย แต่ถ้าหญิงแต่งงาน
ที่ยังไม่ตั้งครรภ์ จะต้องคุมกำเนิด 3 เดือน หลังจาก
ได้รับวัคซีนเหล่านี้ โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันหัด-
เยอรมัน และวัคซีนบางอย่างอาจทำให้มีโอกาสแท้ง
สูงขึ้น หรืออาจทำให้เด็กเกิดอาการ Congenital
Rubella Syndrome คือ มีลิ้นหัวใจรั่ว ตาบอด
หูหนวก
2.4 แอมเฟตามีน (Amphetamine) ทำให้เด็กในครรภ์มีโอกาส พิการตั้งแต่กำเนิด
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ
ทางเดินน้ำดี
2.5 ยารักษาโรคเบาหวาน เช่น อินซูลิน
หรือพวกซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea)
ถ้าแม่ใช้ในจำนวนที่มากเกิน ไป จนเกิดอาการช็อค
หรือน้ำตาลในเลือดต่ำมาก จะทำให้เกิดพิการแต่
กำเนิดได้
2.6 ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
(Anticoagulants) เช่น เฟนินไดโอน
(Phenindione), อินดานิดิโอน
(Indanidione) และคูมาริน (Coumarin)


ใน ระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยา
พวกนี้ เพราะอาจทำให้เกิดความพิการ เช่น การเจริญ
ของจมูกน้อยลง แต่ยังไม่มีข้อยืนยันแน่นอน
นอกจากนี้ยาบางกลุ่มอาจไปทำให้เด็กในครรภ์หรือ
เด็กแรกคลอดมีเลือดออกในระหว่างการคลอด
2.7 สเตียรอยด์ (Steroid) เช่น เพร็ดนิ-
โซโลน, เดกซาเมทาโซน, กลูโคติคอย์
ทำให้โอกาสแท้งเพิ่มมากขึ้น หรือเด็กในครรภ์มี
ความพิการแต่กำเนิด เช่น เพดานโหว่
2.8 ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) เช่น ลาซิกซ์
(Lasix) ยาขับปัสสาวะลิเธี่ยม-
คาร์โบเนท (lithiumcarbonate)

ใน สัตว์ทดลองทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด โดย
เฉพาะเส้นเลือดและหัวใจ ยาพวกนี้ห้ามใช้ในคนตั้ง
ครรภ์ 3 เดือนแรก
2.9 วิตามิน เอ และ บี ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเกิดความ พิการของไตและ
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ, ระบบประสาทแต่กำเนิด
ไม่ควรให้มากกว่าจำนวนที่แพทย์สั่ง
2.10 วิตามิน ซี ถ้าให้มากเกินไป จะทำให้เด็กในครรภ์คลอดออกมา
แล้วเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เรียกว่าโรค
ลักปิดลักเปิด ในบางรายอาจทำให้เด็กในครรภ์
มีโอกาสพิการตั้งแต่เกิด
2.11 วิตามิน ดี ถ้าแม่ได้รับมากเกินไป จะทำให้เกิดความผิดปกติใน
ระบบหลอดเลือดของทารก และอาจทำให้เด็กปัญญา
อ่อนได้
2.12 วิตามิน เค โดยเฉพาะวิตามิน เค3
เช่น มานาดีน (Manadine)
ถ้าให้ก่อนคลอดจะเกิดเลือด ออกในเด็กแรกคลอด
ทำให้เกิดอาการซีดและเหลืองมาก และทำให้หน้าที่
ของตับผิดปกติ
2.13 ยาคุมกำเนิดชนิดกิน อาจพบความพิการของหลอดเลือด ใหญ่ และแขนขา
กุดในทารกได้มากกว่าปกติเล็กน้อย
2.14 คาเฟอีน (Caffeine) ในกาแฟ, น้ำชา,
โคล่า, น้ำอัดลม
ยังไม่มีข้อกำหนดบ่งชัด แต่มีข้อแนะนำว่าหญิงมี
ครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือยาที่ผสมคาเฟอีนใน
มารดาที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณมาก ๆ อาจทำให้
ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ, คลอดก่อนกำหนดได้

ยาที่มีพิษต่อเด็กในครรภ์

ชื่อ ยา ผล เสียต่อเด็ก
3.1 แอสไพริน (Aspirin) และ
ซาลิซัยเลท (Salicylate)
ถ้าแม่กินยานี้เมื่อใกล้ คลอด อาจไปยับยั้งการทำงาน
เลือดแข็งตัวช้าลง ถ้าแม่กินยานี้หรือยาที่มีสาร
ประกอบเป็นตัวยานี้อยู่ตั้งแต่ระยะ 3 เดือนแรก จะทำ
ให้คลอดเกินกำหนดเพิ่มอัตราการตายในท้อง และ
อาจมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดได้หลายอย่าง
3.2 พาราเซตามอล (Paracetamol) ถ้าแม่กินยานี้ขนาดสูงในระยะใกล้คลอด จะมีพิษต่อ
ตับของเด็กในครรภ์
3.3 คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ไม่พบว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิด ถ้าให้ยานี้
แก่แม่ขณะคลอด อาจทำให้เด็กในครรภ์เกิดอาการ
ขาดออกซิเจน ตัวเขียว ๆ เทา ๆ อ่อนปวกเปียก
เรียกอาการนี้ว่า เกรย์ ซินโครม และจะทำให้เด็ก
เป็นโรคโลหิตจางได้
3.4 เตตร้าซัยคลิน (Tetracycline) ถ้าใช้ในหญิงมีครรภ์ที่อยู่ ในระหว่าง 6-8 เดือนหลัง
การตั้งครรภ์ ยานี้จะไปจับกับแคลเซี่ยมที่กระดูกและ
ฟันของเด็กในครรภ์ ทำให้ฟันของเด็กมีสีเหลืองสีน้ำ
ตาลไปตลอดชีวิต และยังทำให้การเจริญของกระดูก
และสมองของเด็กเหล่านี้ผิดปกติไปด้วย
3.5 อะมิโนกลัยโคโซด์ (Aminoglycoside)
เช่น สเตร็ปโตมัยซิน กานามัยซิน และ
เจนตามัยซิน ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides)
ทำให้ประสาทเกี่ยวกับการได้ ยินเสียไปบางส่วน
หรืออาจรุนแรงถึงขนาดทำให้เด็กแรกเกิดหูหนวกได้
ถ้าหญิงมีครรภ์ได้รับในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิด
มีโอกาสที่จะมีอาการตัวเหลือง เพราะปริมาณบิลิรูบิน
ในเลือดสูง และซึมผ่านเข้าไปในสมองบางส่วนทำให้
สมองเสื่อม ชัก ภาษาอังกฤษเรียกว่าเกิดภาวะ
"Kernicterus"
3.6 ฟิโนบาร์บิตอล (Phenobarbital),
บาร์บิตูเรท (Barbiturate)
ถ้าแม่กินยานี้ในขนาดสูงใน ระยะใกล้คลอดมักทำให้
เด็กในครรภ์หายใจไม่สะดวก เนื่องจากยานี้มีผลไป
กดศูนย์การหายใจ และยามีผลต่อการแข็งตัวของ
เลือด อาจทำให้มีเลือดออกในเด็กแรกเกิด
3.7 ไดอะซีแพม (Diazepam) ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด เด็กแรกเกิดจะมีกล้ามเนื้อ
อ่อนแรง ตัวเย็น และอาจแสดงอาการขาดยาหลัง
คลอด
3.8 เมโปรบาเมท (Meprobamate)
ยาเสพติด ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟีน
การเจริญเติบโตของเด็กช้าลง ถ้าให้ในระยะใกล้
คลอดจะกดการหายใจของเด็กแรกเกิด แม่ที่ติดยา
-เสพติดจะมีโอกาสแท้งง่าย หรือลูกออกมาตัวเล็กและ
อาจมีอาการขาดยา คือ กระวนกระวาย อาเจียน มือเท้าสั่น
ร้องเสียงแหลม ชัก
3.9 ยารักษาเบาหวานชนิด
คลอร์โปรปาไมด์ (Chlorpropamide)
ทำให้เด็กแรกเกิดมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
3.10 ไอโอดีน (Radioactive I131) ถ้าให้ไอโอดีนกัมมันตภาพ I131 ในหญิงมีครรภ์เกิน
14 อาทิตย์ จะทำให้สารนี้ไปสะสมอยู่ในต่อม
ธัยรอยด์ของลูกได้ ทำให้เกิดภาวะขาดสารธัยรอยด์
3.11 วิตามินซี ถ้าให้สตรีมีครรภ์มีมากเกินไปจะทำให้เด็กที่คลอด
ออกมาเกิดเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน
3.12 ไอโอไดด์ (Iodides) ซึ่งมักผสมอยู่
ในพวกยาแก้ไอ ขับเสมหะ
ถ้าให้หลังตั้งครรภ์ 14 อาทิตย์ อาจเกิดคอพอก
มีการเจริญเติบโตของสมองช้า และบางครั้งคอพอก
อาจใหญ่มากจนกดหลอดลมหรือหลอดอาหาร
3.13 ยาชาเฉพาะที่ (Local anesthetics) ถ้าใช้ยาพวกนี้มากเกินไป พบว่า 25% ของเด็กแรก
คลอด จะมีหัวใจเต้นช้าลง และอาจมีผลทำให้เด็กใน
ครรภ์เกิดหัวใจเต้นช้า หรือเด็กแรกคลอดหยุดหายใจ
หรือชัก
3.14 แอมโมเนียม คลอไรด์ ถ้าแม่ใช้ในปริมาณมากและในระยะใกล้คลอด
เด็กแรกเกิดภาวะในร่างกายจะเป็นกรด
3.15 คลอโรควีน (Chloroquin) ทำให้แท้งบ่อยขึ้น จะมีผลต่อสมองและประสาทหู
ของเด็กในครรภ์
3.16 ควินิน (Quinine) เกิดแท้งได้ มีพิษต่อหู และหูอาจหนวกในเด็กแรกคลอด
3.17 ยาขับปัสสาวะพวกไธอาไซด์
(Thiazide diuretic)
ปริมาณของพลาสมา และเลือดที่ไปยังรก อาจทำให้
เด็กแรกเกิดมีเกล็ดเลือดน้อยลง
3.18 รีเซอร์ปีน (Reserpine) ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด จะทำให้เด็กแรกเกิดมีอาการ
คัดจมูก ตัวเย็น หัวใจเต้นช้า ตัวอ่อนปวกเปียก
3.19 ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
เช่น นาโปรเซน
จะทำให้เกิดการยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด
เหมือนแอสไพริน จึงไม่ควรให้ในหญิงมีครรภ์
3.20 บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ถ้าแม่กินยานี้ในระยะ 3 เดือนแรก อาจทำให้เด็กใน
ครรภ์พิการ
3.21 อะมิโนฟิลลีน (Aminophylline) และ
ทีโอฟิลลีน (Theophylline)
อาจทำให้เด็กแรกเกิดมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว ร้องกวน
ตัวสั่น และอาเจียน อาการมักปรากฏในช่วง 6-48
ชั่วโมง ภายหลังคลอด
3.22 ยาลดกรด (Antacids) ถ้าแม่กินยานี้ขนาดสูง ๆ ติดต่อกันเป็นประจำ อาจทำ
ให้เด็กแรกเกิดมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมใน
เลือดสูงจนเกิดอาการชักกระตุกได้
3.23 ยานอนหลับและยาระงับประสาท จะกดการหายใจของทารกทำให้หายใจไม่สะดวก
ถ้าสตรีมีครรภ์ได้รับยาเหล่านี้ในระยะใกล้คลอดใน
ขนาดสูง ๆ

เพิ่มเติิม http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/drug/


No comments: