Tuesday, 25 December 2012

“โดนผีอำ” หรือโรคภัย

           คนที่เคยถูก “ผีอำ “จะเจอเหตุการณ์นี้ตอนหลับ นั้นแสดงว่าผีอำเกี่ยวข้องกับการนอน ดังนั้น ก่อนที่จะกล่าวถึงสาเหตุ ของการเกิดภาวะผีอำ เรามาทำความเข้าใจกับเรื่องการนอนหลับ ตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์กันก่อน



โดยปกติการหลับของคนเราแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
๑. ลักษณะแบบตาไม่กระตุก ( non – rapid eye movement sleep หรือ non – REM หรือ synchronized sleep )
๒. ลักษณะแบบตากระตุก ( rapid eye movement sleep หรือ desynchronized sleep หรือ fast wave sleep )


           เมื่อ คนเราเริ่มหลับ การหลับจะเริ่มด้วยแบบตาไม่กระตุกก่อน ประมาณ ๖๐ – ๙๐ นาที แล้วเปลี่ยนเป็นแบบตากระตุกประมาณ ๕ – ๑๐ นาที แล้วจะเปลี่ยนเป็นแบบตาไม่กระตุกใหม่ สลับกันไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ โดยช่วงที่หลับแบบตาไม่กระตุกจะสั้นลง ๆ และช่วงที่หลับแบบตากระตุกจะยาวขึ้น ๆ เมื่อใกล้ตื่น
โดยเฉลี่ยช่วงที่ หลับแบบตาไม่กระตุก รวมทั้งหมดจะประมาณ ร้อยละ ๗๕ – ๘๐ ของเวลาหลับทั้งหมด ส่วนช่วงที่หลับแบบตากระตุก รวมทั้งหมดจะประมาณร้อยละ ๒๐- ๒๕ และการหลับช่วงสุดท้ายก่อนที่จะตื่นขึ้นตามธรรมชาตินั้นจะเป็นการหลับแบบ ตากระตุก

การหลับแบบตาไม่กระตุก
การหลับแบบตาไม่กระตุก แบ่งออกได้เป็น ๔ ลักษณะ ตามลักษณะของคลื่นไฟฟ้าสมอง คือ
ระยะที่ ๑ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองเริ่มช้าลง เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ง่าย แม้เพียงแค่เรียกชื่อเบา ๆ แตะตัวเบา ๆ หรือปิดประตูเบา ๆ
ระยะที่ ๒ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองช้าลงอีก และเป็นลักษณะคลื่นหลับ เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ยากขึ้นคน ที่อยู่ในระยะที่ ๑- ๒ คือคนที่กำลังจะหลับ หรือ หลับ ๆ ตื่น ๆ ซึ่งตาจะกลอกไปมาช้า ๆ ในขณะที่หลับอยู่ซึ่งการหายใจในช่วงนี้จะไม่สม่ำเสมอและอาจจะมีการหยุดหายใจ เป็นพัก ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
ระยะที่ ๓ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองช้าและใหญ่ขึ้นอย่างมาก และพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบนี้อย่างน้อยร้อยละ ๒๐ แต่ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของคลื่นไฟฟ้าสมองที่บันทึกได้ ระยะนี้กินเวลาเพียงไม่กี่นาที ก็จะเข้าระยะที่ ๔
ระยะที่ ๔ เป็นระยะที่คลื่นไฟฟ้า สมองที่ช้าลงและใหญ่มากนี้จะพบได้เกินร้อยละ ๕๐ และระยะนี้จะกินเวลา ประมาณ ๒๐- ๔๐ นาที
ระยะ ที่ ๓ -๔ นี้ เป็นระยะที่คนหลับลึก หลับสนิท ตาทั้ง ๒ ข้างหยุดการเคลื่อนไหว การหายใจจะเปลี่ยนเป็นแบบสม่ำเสมอและหายใจช้าลง ๆ หัวใจ ( ชีพจร ) จะเต้นช้าลง ๆ ความดันเลือดจะลดลง ๆ กล้ามเนื้อจะอ่อนตัวลง แต่ไม่ถึงขั้นอัมพาต การ หลับที่เข้าสู่ระยะที่ ๓ -๔ นี้ เป็นระยะที่ปลุกให้ตื่นได้ยาก คนที่หลับอยู่ในระยะนี้ ถ้าถูกปลุกอย่างรุนแรงจนตื่นจะมีอาการสับสนเลอะเลือน ละเมอเพ้อพก หรือจำในสิ่งที่ตนเองทำไปไม่ได้เลยอย่างเช่น การเดินละเมอ ปัสสาวะรดที่นอน หรือขบเขี้ยวเคี้ยวฟันขณะหลับ
ประมาณกันว่าในคืนหนึ่ง ๆ คนเราจะมีการพลิกตัว ขยับตัวหรือเปลี่ยนท่าทางการนอนอย่างน้อย ๘ – ๙ ครั้ง เมื่อลักษณะการหลับเปลี่ยนจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง ( จากแบบตาไม่กระตุกเป็นแบบตากระตุก )

การหลับแบบตากระตุก
การ หลับแบบตาไม่กระตุก เป็นการหลับที่คลื่นไฟฟ้าสมองมีลักษณะเหมือนกับในขณะที่ตื่นอยู่ การหลับแบบนี้เป็นการหลับที่ประกอบด้วยการกระตุก ( การเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ) ของตาทั้ง ๒ ข้างเป็นพัก ๆ ภายใต้หนังตาที่หลับอยู่ ช่วงนี้การหายใจจะไม่สม่ำเสมอและช้าลงกว่าแบบตาไม่กระตุก มีการหายใจทางท้อง ( หายใจโดยใช้กระบังลม ) เป็นสำคัญ กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเอนตัวลงมากเหมือนเป็นอัมพาต ยกเว้นกล้ามเนื้อตาที่ยังทำงานให้ตากระตุกเป็นพัก ๆ ใน ขณะที่หลับแบบตากระตุกนี้ เป็นช่วงที่ปลุกให้ตื่นได้ง่าย หรือบางคนก็อาจจะตื่นเอง และมักจะจดจำความฝันต่างๆ ในช่วงก่อนตื่นได้ ( เพราะฝันในช่วงที่หลับแบบตากระตุกนี้ )


ผีอำ......หรือผีจริง หรือ โรคภัย

             ตอน เป็นเด็กผู้เขียนเคยได้ยินผู้ใหญ่รุ่นก่อน ๆ พูดให้ได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่าอย่านอนหลับตอนเวลาโพล้เพล้ หรืออย่านอนขวางประตูเดี๋ยวจะถูก “ ผีอำ “ ความจริงตัวเองก็นอนหลับในช่วงเวลาเย็น บ่อยๆ แต่ไม่เคยถูกผีอำสักทีวัน หนึ่งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ก็ได้เจอสภาวะผีอำเป็นครั้งแรก ( และครั้งเดียว ) ในชีวิต ตอนนั้นเผลอหลับไปในช่วงใกล้ค่ำ แถมยังนอนขวางกลางประตูห้องอีกต่างหาก แล้วในขณะที่กำลังจะตื่นเพราะมีความรู้สึกว่าตัวเองนอนหลับหลายชั่งโมงแล้ว ก็พยายามจะลุกขึ้น แต่ขยับตัวไม่ได้ แขน ขาทำไมถึงอ่อนเปลี้ย ไปหมด แล้วก็เห็นคนมายืนคร่อมศีรษะอยู่
ตอนนั้นผู้เขียนกลัวมาก คิดว่าถูกผีเจ้าที่หลอก พยายามตะโกนร้องให้คนช่วย แต่ไม่มีใครได้ยิน สักพักก็รู้สึกตัวตื่น ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเกิดขึ้นจริง เล่าให้คนในบ้านฟัง เขาก็บอกว่านั้นแหละถูกผีอำเข้าให้แล้ว แต่ที่ไม่มีคำตอบให้คือ สิ่งที่เราเจอนั้นมันคือผีจริงหรืออะไรกันแน่ ?
          เวลา ผ่านไปนานมาก......นานจนลืม วันหนึ่งมีคนมาถามว่ามีข้อมูลเรื่องผีอำไหม ช่วยหาให้หน่อยซิ ผู้เขียนก็ไปค้นคว้าและสอบถามผู้รู้ ( เพราะอยากรู้คำตอบเหมือนกัน ) ก็ได้ความว่าเรื่องนี้ต้องไปคุยกับจิตแพทย์ และจิตแพทย์ที่เป็นผู้ไขข้อข้องใจเรื่องผีอำให้เราทุกคนได้ทราบ ก็คือ นายแพทย์ เทอดศักดิ์ เดชคง ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาบริการสุขภาพจิต สำนักพัฒนาบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุขผี อำเป็นปัญหาในการนอน เป็นความผิดปกติในการนอน คือการนอนมีหลายประเภท เช่น นอนปกติ นอนแล้วฝัน ฝันร้าย หรืออยู่ดีๆ ก็ร้องขึ้นมา ซึ่งเราจะเจอในเด็ก ส่วนฝันร้ายเจอได้ทุกอายุ
ผีอำนั้นเป็นสภาวะที่คล้าย ๆ กับการฝัน เพราะขณะที่ถูกผีอำคนคนนั้นจะอยู่ในสภาวะที่ขยับตัวไม่ได้ ต้องเข้าใจนิดนึงงนะครับว่า มันจะมีสภาวะการหลับที่เราเรียกว่า non-REM ซึ่งช่วงนั้นเวลานอนตาเราไม่ได้กลอก เพราะฉะนั้นเรายังพอมีกำลังขยับตัวได้ พลิกตัวได้ ช่วงเวลานั้นถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราจะลุกขึ้นมาได้ แต่ ในภาวะหลับตาแบบตากระตุก ( REM sleep ) จะมีการฝัน กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะผ่อนคลายหมด ขยับตัวไม่ได้ยกเว้นต้องตื่น คำว่าตื่น หมายถึงต้องมีการเขย่าตัวรุนแรง แล้วในช่วงเวลานั้นถ้ามีสิ่งเร้าอะไรที่มาทำให้เราไม่สบาย เช่น อาจจะมีหมอนข้างมาวางอยู่บนตัวหรือขา หรืออาจจะนอนในท่าที่ไม่สบายนักก็จะมีการแปลภาวะนั้นเป็นความไม่สบาย แล้วบางทีก็ไปผูกเรื่องกับความฝัน ทำให้เขาอยากจะออกจากสถานการณ์นั้น แต่ว่าทำไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมันคลายไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นในภาวะอย่าง นั้น ก็จะเป็นสภาวะที่เขาจะรู้สึกเหมือนกับว่าใครมากดทับเขา มันเป็นสภาวะที่หลีกหนีไปไม่ได้ แต่สักพักนึงเขาจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง คนถูกผีอำ ยังไงก็ตามไม่ตายหรอก ! ต้องฟื้นมาแน่ แต่สิ่งที่เขาจะกลัวก็คือ เป็นแล้วอาจจะเป็นอีก ซึ่งเราเจอได้บ่อย ๆ “


โรคทางกายหรือโรคทางใจ
ประเด็นนี้คิดว่าหลายคนคงอยากทราบเหมือนกันว่า “ผีอำ “ เกี่ยวข้องกับโรคทางด้านจิตใจ หรือโรคทางร่างกายบ้างหรือเปล่า ซึ่งเรื่องนี้คุณหมอเทิดศักดิ์ได้ให้คำอธิบายว่า

ผีอำโดยทั่วไปมักจะเกี่ยวข้องกับการนอน และสัมพันธ์กับสถานการณ์ ในชีวิตประจำวัน เช่น สถานการณ์ที่ทำให้เขากังวล ตื่นเต้น พูดได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่คนจะถูกผีอำได้ ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตใจอะไรหรอก เป็นเพียงตะกอนความคิดที่เกิดจากชีวิตประจำวัน บางคนหาทางออกไม่ได้ ก็ไปออกในช่วงที่นอน เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคนคนนั้นเริ่มมีภาวะความเครียด แล้วเดี๋ยวร่างกานก็ปรับสมดุลของมันไปเอง ไม่มีที่นอนแล้วผีอำทุกวัน ไม่ถือเป็นโรค ไม่มีอะไรน่ากลัวแล้วมันจะหายเอง
ยกเว้นบางรายที่เป็นมาก พวกนี้แสดงว่าปัญหาเยอะ แล้วมักจะเก็บไปฝัน ซึ่งบางคนอาจจะมาในแง่ฝันร้าย คือว่าถ้าฝันร้ายแล้วหลับสนิท เขาก็จะเล่นไปในฝันนั้นแหละ แต่ถ้าตื่นขึ้นมานิดนึงก็จะรู้สึกว่า เอ๊ะ ! ทำไมขยับตัวไม่ได้ คือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น กำลังเคลิ้ม ๆ เหมือนจริง นั้นคือสภาวะของผีอำ “


การรักษาภาวะ “ผีอำ “ตามธรรมชาติ คนทั่วไปจะต้องเคยโดนผีอำกันมาบ้าง แต่อาจจะจำไม่ได้แล้ว “ ผีอำ “ มักจะนานๆ เป็นสักครั้ง แล้วก็หายไปเอง แต่สำหรับคนที่เป็นบ่อย ๆ คุณหมอ เทอดศักดิ์ บอกว่าในทางจิตเวชก็มีวิธีช่วย

วิธีการง่าย ๆ คือการผ่อนคลายความเครียด นั้นคือก่อนนอนสัก ๑- ๒ ชั่งโมง อย่าไปทำอะไรที่มันตื่นเต้น ( เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นเกมส์ ) ก่อนนอนอาจจะอาบน้ำอุ่น หรือดื่มนมอุ่น ๆโดยเฉพาะนมถั่งเหลือง จะทำให้หลับสบายขึ้น หรืออาจจะใช้วิธีสะกดจิตเข้าช่วยดดยการโปรแกรมจิตใหม่ก็จะช่วยได้
กรณี ที่มีอาการมาก ๆ เราก็มียาให้เหมือนกัน เป้นพวกยาคลายเครียด หรือยาต้านเศร้า ซึ่งจะทำให้เขาหลับสนิทข็นโดยไม่ฝันมากนัก คือคนที่ผีอำจะฝันปนอยู่ด้วย เราก็ทำความฝันนั้นให้น้อยลง อาการผีอำก็จะลดลงเหมือนกัน หลักง่าย ๆ เวลาโดนผีอำให้นอนเฉย ๆ สักพักอาการจะหายไปเอง “

ส่วนความเชื่อที่ผู้ใหญ่มักเตือนว่า อย่านอนเวลาโพล้เพล้นั้น เกี่ยวข้องกับ “ ผีอำ “ อย่างไรเรื่องนี้มีคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว

เวลาเย็น ๆ หรือเวลา โพล้เพล้ มันเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสง คือธรรมชาติของคนในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของแสงนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมอย่าง หนึ่งที่ทำให้มีปัญหาในการนอน คือถ้าเรานอนตอนกลางคืน หรือกลางวันไปเลยจะไม่ค่อยมีปัญหา สิ่งที่ผู้ใหญ่พูดเป้นสิ่งที่ถูกต้องนะ เพราะไม่ใช่เรื่องผีอำย่างเดียวหรอกอาจจะนอนฝันร้ายก็ได้ เพราะว่าหลับไม่สบาย หลับไม่สนิท “

      "เพราะฉะนั้น ถ้าใครไม่อยากเจอสภาวะ “ ผีอำ “ ก็ต้องทำใจให้สบายก่อนนอน โดยอาจจะสวดมนต์ไหว้พระ แล้วคิดแต่เรื่องดี ๆ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้การนอนของเราในแต่ละคืน จะได้เป็นการพักผ่อนที่แท้จริง"
          การหลับ คือการหยุดพักของร่างกายชั่วคราวโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งนอกจากความฝันแล้ว ยังเกิดอาการต่าง ๆ ได้หลายลักษณะ ในขณะที่คนเรานอนหลับ เช่น ละเมอ เดินละเมอ ฝันร้าย ปัสสาวะขณะหลับ นอนกัดฟัน โขกศีรษะขณะหลับ ผีอำ องคชาตแข็งตัวจนเจ็บ ปวดศีรษะ และอื่นๆ เช่น หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอกกลางคืน เม็ดเลือดแดงแตกขณะหลับ หรือขย้อนขณะหลับ เป็นต้น
ปฏิกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับคนบางคนซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดมหัศจรรย์หรือถูกผีเข้า อย่างที่เข้าใจผิดกันมานานแล้ว



ข้อมูลสื่อ
นิตยสารหมอชาวบ้าน 284 ธันวาคม 2002

ผีอำ สาเหตุของผีอำและวิธีแก้ผีอำ
ผี อำ (sleep paralysis) เป็นอาการของจิตใจแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะกำลังเคลิ้มหลับหรือใกล้ตื่นนอน ในขณะนั้นสภาพจิตใจเริ่มรู้ต้วขึ้นบ้างแต่ยังไม่รู้ตัวเต็มที่ อาจรับรู้ทางหูหรือทางตาได้บ้าง แต่อาจแปลเสียงหรือภาพไปในทางน่ากลัว...

ซึ่งอาจสัมพันธ์กับความฝันที่เกิดขึ้นก่อน อาจเห็นภาพผี ได้ยินเสียงร้องหรือรู้สึกเหมือนมีคนมาจับขา มาฉุดขา ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่นตอนนั้น ร่างกายจะไม่สามารถเคลื่อนไหวตามคำสั่งสมองได้ ทำให้รู้สึกตกใจกลัวเพราะเคลื่อนไหวหนีหรือต่อสู้ไม่ได้ รู้สึกอึดอัด บางทีเหมือนมีอะไรมาทับหน้าอกไว้ เพราะเคลื่อนที่ไม่ได้นี่เอง ความรู้สึกเหมือนถูกผีหลอกนี้เองทำให้คนทั่วไปเรียกว่า "ผีอำ"

อาการ หมดแรงอย่างสมบูรณ์หรือเพียงบางส่วน ทำให้มีลักษณะเหมือนเป็นอัมพาตทั้งตัว ขยับแขนขาไม่ได้ ลืมตาไม่ได้ พูดไม่ได้ หรือหายใจลึกๆ ไม่ได้ ในขณะที่รู้สึกว่าตนเองตื่นอยู่ มักจะมีการเห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงหลอน หรือฝันร้ายร่วมด้วย ทำให้ตกใจกลัวมากขึ้น คนที่เกิดผีอำมักจะรู้สึกถึงสภาพหมดแรงที่เกิดขึ้นได้ดี ทั้งที่อยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น เพราะกำลังจะหลับหรือกำลังจะตื่น และมักจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดีเมื่อตื่นขึ้น ผู้ที่เกิดผีอำครั้งแรกมักจะตกใจกลัวมาก จนรู้สึกเสมือนว่า ตนเองกำลังจะตาย โดยเฉพาะถ้าเห็นภาพหลอนหรือได้ยินเสียงหลอนที่คุกคามชีวิตของตนด้วย เมื่อตกใจตื่นขึ้นในอีกไม่กี่นาทีต่อมา จึงอาจร้องเอะอะโวยวาย ร้องไห้ หอบเหนื่อย หน้าซีด ตัวสั่น หรือแสดงอาการตกใจกลัวอื่นๆ
ผู้ที่เกิดผีอำ มาแล้วหลายๆ ครั้งจะไม่ค่อยตกใจกลัว เพราะรู้ว่าอาการดังกล่าวไม่มีอันตรายอะไร และมักเป็นอยู่ชั่วครู่เดียว ไม่เกิน 10 นาที

สาเหตุของอาการผีอำที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะ หลับ มักจะเกิดจากโรคลมหลับ (narcolepsy) และโรคผีอำตามกรรมพันธุ์ (familial sleep paralysis) อาการผีอำที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะตื่น อาจจะเกิดจากโรคลมหลับ หรืออาจจะเกิดในคนที่อดนอนหรือนอนไม่พอมาหลายวัน หรือเข้านอนผิดเวลาได้

อาการผีอำมักเกิดทันทีเมื่อหมดช่วงการหลับแบบตากระตุก จะเป็นอยู่ไม่กี่นาที แล้วค่อยๆ หายหรือหายทันที เมื่อถูกเรียก ถูกสัมผัส ถูกปลุก โดยใครก็ได้ ผู้ที่เป็นผีอำจะรู้สึกว่าตนนั้นตื่นอยู่ แต่ขยับเขยื้อนไม่ได้ ทั้งที่ตนได้พยายามขยับเขยื้อนแล้ว พยายามตะโกนเรียกให้คนช่วยแล้ว แต่ไม่มีคนได้ยิน เพราะไม่มีเสียงออกมา และเมื่อตื่นขึ้นจะจำเหตุการณ์และเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้
อาการที่ ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่าผีอำนั้น แท้ที่จริงคือ ล้มตัวลงนอนด้วยความเหนื่อยล้าโดยเฉพาะหลังจากทำงานหรือดูหนังสือ แม้กระทั่งดูโทรทัศน์ เมื่อเรานอนด้วยความล้า ก็เกิดการประสานกันระหว่างสารเคมีกับสภาพชีวเคมีของร่างกาย เกิดอาการทั้งกดทั้งค้าง ทำให้เราขยับเขยื้อนไม่ไหว
ในขณะนั้นเราตื่น อยู่ สมองเราก็ทำงานได้ แต่ร่างกายเรา ขยับเขยื้อนไม่ไหว เหมือนมีคนมาคุมเราอยู่ มาจับเราอยู่ มาตรึงเราอยู่ เราเลยเกิดเชื่อมโยงว่ามีผีมาจับตัวเรา ในที่สุดแล้วก็ไม่ใช่ผีสางที่ไหน ที่แท้คือความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสมองกับร่างกายของเรา ซึ่งเป็นอาการชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้นเอง

อาการผีอำเกิดจากการที่กล้ามเนื้อของร่างกายเข้าสู่ภาวะการหลับที่เรียก ว่า REM (Rapid Eye Movement) แต่สมองส่วนที่เป็นจิตสำนึกยังตื่นอยู่ อาการผีอำเป็นอาการที่ร่างกายกับจิตสำนึกหลับไม่พร้อมกัน หรือ ตื่นขึ้นมาไม่พร้อมกัน
ผีอำเป็นสภาวะที่คล้าย ๆ กับการฝัน เพราะขณะที่ถูกผีอำคนคนนั้นจะอยู่ในสภาวะที่ขยับตัวไม่ได้ ในภาวะหลับแบบตากระตุก (REM sleep) จะมีการฝัน กล้ามเนื้อต่าง ๆ จะผ่อนคลายหมด ขยับตัวไม่ได้ ยกเว้นต้องตื่น คำว่าตื่น หมายถึงต้องมีการเขย่าตัวรุนแรง แล้วในช่วงเวลานั้นถ้ามีสิ่งเร้าอะไรที่มาทำให้ไม่สบาย เช่น อาจจะมีหมอนข้างมาวางอยู่บนตัวหรือขา หรืออาจจะนอนในท่าที่ไม่สบายนักก็จะมีการแปลภาวะนั้นเป็นความไม่สบาย แล้วบางทีก็ไปผูกเรื่องกับความฝัน ทำให้อยากจะออกจากสถานการณ์นั้น แต่ว่าทำไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อมันคลายไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้นในภาวะอย่างนั้น ก็จะเป็นสภาวะที่รู้สึกเหมือนกับว่าใครมากดทับ เป็นสภาวะที่หลีกหนีไปไม่ได้ แต่สักพักหนึ่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง

จาก news.clipmass.com/story/2825




ผีอำ คือ คำเอ่ยของคนที่คิดว่าถูกผีหลอกในขณะนอนครึ่งหลับครึ่งตื่น มีอาการที่รู้สึกแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรือขยับตัวไม่ได้ในขณะนอน หรือนั่งเหมือนมีคนมานั่งทับบนตัว ว่ากันว่า เกิดจากการนั่ง หรือนอนผิดท่า ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ทำให้ขยับตัวไม่ได้

ทางแพทย์อธิบายว่าเกิดจากการ ที่สมองตื่นไม่พร้อมกัน

สมองเรานั้นมีบริเวณต่างๆ ที่ทำหน้าที่ต่างๆ บริเวณด้านหน้าจะทำหน้าที่สั่งให้เคลื่อนไหว ส่วนรับความรู้สึกนี่จะเป็นแกนกลาง กับด้านค่อนมาหลังหน่อย

เวลาเราตื่นสมองจะมีกระแสไฟฟ้าเป็นตัวทำงาน เวลาเราหลับกระแสเหล่านี้ก็ลดลง (เข้าสู่ระยะพัก) ดังนั้นเมื่อเราตื่น ถ้าบริเวณรับความรู้ตัวตื่น แต่บริเวณสั่งการเคลื่อนไหวยังไม่ตื่น ก็เป็นอาการผีอำ แต่ก็มี โรคบางโรคที่มีลักษณะเหมือนกันนี้เรียกว่า Lockin Syndrome จะรู้ตัวแต่ขยับอะไรไม่ได้ ได้แต่กลอกลูกตาไปมา
อาการของผู้ที่ถูกผีอำ
ว่ากันว่า เวลาที่เราใช้หลับนอนในตอนกลางคืนนั้น ระยะเวลาครึ่งแรกของกลางคืน คือระยะตั้งแต่หัวค่ำถึง 2 ยาม เป็นเวลาที่นอนหลับสนิทแล้วจะได้พลังงานและเป็นสุขมากกว่าระยะเวลานอนใน ครึ่งหลังของเวลากลางคืน

เวลานอนตั้งแต่ 2 ยามล่วงไปแล้ว จะนอนหลับไม่ค่อยสนิทนัก คนเราจึงมักจะฝันในระยะครึ่งหลัง ของเวลากลางคืน และส่วนมากจะฝันได้มากในเวลาก่อนใกล้รุ่ง ความฝันมักเกิดขึ้นเมื่อเวลานอนหลับไม่ค่อยสนิท ซึ่งจะเป็นการแสดงออกมาของจิตใจ ความฝันจะช่วยให้ได้สิ่งซึ่งต้องการที่เวลาตื่นอยู่ไม่อาจได้ ความฝันจะช่วยให้ เราเป็นผู้มีอำนาจ มีเงิน บางทีความฝันก็แสดงออกมาถึงจิตใจและอารมณ์ที่มีอยู่ เช่น ความวิตกหวาดกลัว ความไม่พึงพอใจ ความเศร้าสลด ฯลฯ ก็จะมีฝันร้าย

ถ้านอนฝันแล้วออกเสียงมาด้วยก็เรียกกัน ละเมอ มีการนอนฝันที่ครึ่งหลับครึ่งตื่น อีกอย่างหนึ่งเรียกกันว่า ผีอำ คงมีคนเคยถูกผีอำมาบ้าง เวลาที่นอนอใกล้จะหลับ หรือหลับแล้วกำลังจะตื่น เป็นตอนที่รู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง เกิดความฝันลางเลือน เหมือนมีของมาทับอก หายใจไม่ออก ชาไปทั้งตัวรู้สึกตัวว่าตัวลืมตาเห็นอะไรๆอยู่ แต่กระดุกกระดิกตัวไม่ได้ ร้องเรียกให้ใครช่วยก็ไม่มีใครได้ยิน ต่อมาสักครู่หนึ่งจึงจะรู้สึกตัว ลักษณะอาการดังกล่าวนี้เรียกกันว่า ผีอำ

ความจริง ไม่มีผีสางอะไรมาอำหรือมาทำอย่างไรทั้งนั้น

ถ้าจะเข้าใจเรื่องถูกผีอำนี้ ควรเข้าใจก่อนว่า ตามปรกติแล้วเลือดของเราจะมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนๆ และมีฤทธิ์คงที่เสมอในเลือดจะมี โซเดียมไบคาร์บอเนตซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง และกรดคาร์บอนิค ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอยู่ โดยมีอัตราส่วนคงที่ที่จะทำให้เลือดอยู่ในสภาพเป็นด่างอ่อนๆ ตามปรกติตลอดเวลา

ผีอำ มักจะเกิดขึ้นในคนที่มีอารมณ์เครียด โดยมี โกรธ โลภ หลง เศร้าสลด วิตกกังวล หวาดระแวง กลัว อิจฉาริษยา ฯลฯ เมื่อเวลานอนเคลิ้มๆ(จะหลับหรือตื่น) ก็จะเกิดความฝันจากอารมณ์ไม่ดีของตน การมีอารมณ์ไม่ดีจะทำให้หายใจเข้าออกยาวๆเหมือนหอบ การหายใจเข้าออกเหมือนหอบสักพักหนึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์จะสลายตัวออกมาจากกรดคาร์บอนิคในเลือด เมื่ออกมามาก กรดคาร์บอนิคลดน้อยลง อัตราส่วนของด่างก็จะมีมากกว่ากรด เลือดก็จะมีฤทธิ์ด่างเพิ่มขึ้น

เมื่อเลือดมีฤทธิ์ด่างมากขึ้น ก็จะมีอาการอึดอัดในอกเหมือนมีของทับอก หายใจไม่ค่อยออก เหมือนหอบ ชามือชาเท้า มึนและเวียนศีรษะ รู้สึกหมดเรี่ยวแรงจนเหมือนจะขยับเขยื้อนตัวไม่ได้

สำหรับใครที่อยากลองดูว่าผีอำเป็นอย่างไร ลองหายใจเข้าออกยาวๆเร็วๆให้เหมือนหอบสักพักหนึ่ง ก็จะรู้สึกมึนศีรษะ มือชา หน้ามืด ฯลฯ พอกลั้นหายใจสักครู่ก็จะหาย เพราะกรดคาร์บอนิคจะเพิ่มขึ้นมาเป็นปกติ

คนร้องไห้มากๆสะอึกสะอื้นหายใจเข้าออกยาวๆเร็วๆก็จะมีอาการเช่นเดียวกัน ยิ่งร้องมากยิ่งชาไปทั้งตัว มึนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมไปได้ ก็เพราะเหตุผลเดียวกันนี้

ใครถูกผีอำบ่อยๆ ควรจะได้ตรวจรักษาเรื่องจิตใจและอารมณ์เลวร้ายของตัวเอง จิตใจตัวเองนั่นแหละ เป็นผีที่อำตัวเอง

ผีอำ เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

จาก th.wikipedia.org 

No comments: