เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิ์ รักษาฟรีทั่วประเทศ โดยเป็น การ บูรณาการร่วมกันของ 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เพื่อให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับประชาชนทุกสิทธิ ไม่ต้องมีการถามสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ จากนั้นให้หน่วยบริการ หรือโรงพยาบาลทำเรื่องเบิกจ่ายไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายกลาง หรือ เคลียริ่งเฮาส์” (Clearing House) ก่อนที่ สปสช.จะเรียกเก็บเงินจากแต่ละกองทุนต่อไป
โดยยังเป็นข้อสงสัยของหลายฝ่าย เกี่ยวกับคำจำกัดความ ของกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สปสช. และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จึงออกมาชี้แจงให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้แนวทางบูรณาการ 3 กองทุนสุขภาพรัฐ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง รพ.นาแห้ว จึงขอแจ้งให้ทราบว่า อาการฉุกเฉินนั้นหมายถึง อาการดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยฉุกเฉินที่จะได้รับการรักษาฟรีทั่วประเทศ
“ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ” ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ฉุกเฉินวิกฤติ เป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิตต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจรักษาทันที มิฉะนั้นผู้ป่วยจะเสียชีวิตหรือพิการอย่างถาวรในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่ต้องได้รับการวินิจฉัย และให้การตรวจรักษาทันที กลุ่มนี้โดยใช้สัญลักษณ์
“สีแดง” ตัวอย่าง เช่น
1. ภาวะหัวใจหยุดเต้น
2. ภาวะหยุดหายใจ
3. ภาวะช็อกจากการเสียเลือดรุนแรง
4. ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว
5. อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
6. อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
7. อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันทันที มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด
8. เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น
“ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน” ได้แก่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยที่มีภาวะเฉียบพลันมาก หรือเจ็บปวดรุนแรงอันอาจจำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้น หรือ เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นซึ่งส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมาได้ หรือกล่าวได้ว่า ฉุกเฉินเร่งด่วนเป็นภาวะที่ต้องการการช่วยเหลือโดยเร็ว รอได้บ้างแต่ไม่นาน เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือทางการรักษาพยาบาลจัดเป็นอันดับรอง จากกลุ่มแรก ผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องก็อาจ ทำให้สูญเสียชีวิตหรือพิการได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอาการ หรืออาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยใช้สัญลักษณ์ “สีเหลือง” เช่น
1. หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ ชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 150 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะถ้าร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
2. ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที
3. ตกเลือด ซีดมากหรือเขียว เจ็บป่วย
4. เจ็บปวดหรือทุรนทุราย
5. มือเท้าเย็นซีด หรือเหงื่อแตก ร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
6. ความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มม.ปรอท หรือตัวล่างสูงกว่า 30 มม.ปรอท โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
7. อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
8. ถูกพิษหรือกินยาเกินขนาด
9. ได้รับอุบัติเหตุโดยเฉพาะบาดแผลที่ใหญ่มากหรือมีหลายแห่ง เช่น อาการแตกร้าวขนาดใหญ่ของอวัยวะ อาการบาดเจ็บที่หลังโดยที่มีหรือไม่มีอาการไขสันหลังอักเสบ
10. ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น
3.ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ใช้
สัญลักษณ์สีเขียว หมายถึงบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ
หรือมีอาการป่วยเฉียบพลันไม่รุนแรง ซึ่งรอรับการรักษาได้ระยะหนึ่ง
หรือสามารถเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตัวเองได้ แต่หากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้ว จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน
ขณะที่เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน
หรือ สพฉ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน
ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่มีความพร้อม เพราะเป็นงานที่ทำประจำอยู่แล้ว
แต่ได้กำชับเพิ่มเติมว่า ควรสังเกตอาการผู้ป่วยเป็นหลัก
ที่ผ่านมาผู้ป่วยฉุกเฉินบางราย เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น หรือเสียชีวิต
เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
เพราะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ่ายเบี่ยงรับผู้ป่วย
หรือต้องใช้เสียเวลาตรวจสอบสิทธิผู้ป่วยนานเกินไป แต่หลังจากวันที่ 1
เมษายน 2555 ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเป็นสมาชิก 3กองทุนสุขภาพรัฐ
จะได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียมกัน คือสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล
จนกว่าอาการจะทุเลา จึงย้ายกลับไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ ภายใต้สโลแกนที่ว่า
"เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน"
หากไม่แน่ใจโปรดโทรฯ สายด่วน 1669 เพื่อขอรับคำปรึกษาและบริการช่วยเหลือต่อไป- แนวทางปฏิบัติการให้บริการ สิทธิ์ประกันสังคม ในสถานพยาบาลภาครัฐ Download
- แนวทางปฏิบัติการให้บริการ สิทธิ์ประกันสุขภาพ ในสถานพยาบาลภาครัฐ Download
- หนังสือขอความร่วมมือในการส่งข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินและเร่งด่วน Download
- แบบรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย Excel Download
- คำถามและคำตอบที่ควรรู้ Download
- นิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉิน Download
No comments:
Post a Comment